google analytic

google analytic

สวัสดีค๊าบบพ่อแม่พี่น้องทุกคน (เป็นดาราไปซะแล้ว ฮ่าๆ) บทความนี้ สาระล้วนๆครับ ผมจะมาแนะนำ Google Analytics หลายๆคนคงรู้จักเจ้านี่ดีนะครับ เพราะเจ้านี่มันคือ เครื่องมือ(ผมเรียกมันว่าอย่างนี้นะ) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของเว็บไซต์ แต่.. สิ่งที่ผมจะมาแนะนำ ไม่ใช่วิธีการสมัครใช้งาน หรือการยืนยันเว็บไซต์อะไรทำนองนั้นหรอกครับ สิ่งที่ผมจะมาแนะนำมันก็คือออ.. เจ้า Google Analytics เนี่ย มันทำอะไรได้บ้าง 
ไปดูกันเลยดีกว่าค๊าบบ


ก่อนอื่นเลยครับ สำหรับคนที่ไม่รู้จักเจ้าเครื่องมือนี้ว่ามันมีคืออะไร มีดียังไง
Google Analytics เป็นเครื่องมือ(Tools)ตัวนึงที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติของเว็บไซต์ครับ อธิบายง่ายๆก็คือ เจ้า Google Analytics เนี่ย มันจะช่วยเรานับจำนวนคนเข้าดูเว็บไซต์ของเรา แต่มันก็มีความสามารถแฝงอีกมากมายเลยนะ เช่น นอกจากจะนับจำนวนคนแล้ว มันยังแยกแยะว่าเป็นเพศไหน ช่วงอายุเท่าไหร่ แล้วคนเหล่านั้นดูจากที่ไหน ได้อีกด้วยย เป็นไงล่ะครับเจ้า Google Analytics เนี่ย เจ๋งไปเลยใช่มั๊ยล่ะ (แถมใช้ฟรีไม่เสียกะตังด้วยนะ ที่สำคัญใช้ภาษาไทยได้อีกด้วย)
คงจะต้องบอกว่า Google Analytics กับ Google Webmaster Tools เจ้า 2 เครื่องมือนี้เป็นเหมือน main หรือหัวใจหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์เลยก็ว่าได้นะครับ เพราะ Tools เจ้าอื่นๆที่ทำออกมาขายแข่งกัน ทุกคนต่างก็ต้องมีฟังก์ชันที่เหมือนกันคือ มีการเชื่อมโยงไปยัง Google Analytics และ Google Webmaster Tools แต่ก็จะมีฟังก์ชันอื่นๆเพิ่มเติมเข้าไปด้วย (ไม่งั้นเค้าจะขายได้ไงล่ะเนอะ ฮ่าๆ)
เอาล่ะครับ นอกเรื่องไปเยอะละ คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่ามันทำอะไรได้บ้างงงง
Picture

นี่คือหน้าตาของเจ้า Google Analytics ครับจะมี เมนูอยู่ทางด้านซ้าย [กรอบสีแดง] ซึ่งในเมนูจะประกอบไปด้วย

  • แดชบอร์ด
  • ทางลัด
  • กิจกรรมอัจฉริยะ
  • เรียลไทม์
  • ผู้ชม
  • การกระทำ
  • พฤติกรรม
  • Conversation

เมนูพวกนี้ก็คือความสามารถในการวิเคราะห์ของเจ้า Google Analytics เนี่ยแหละครับ เดี๋ยวเราจะมาเจาะเข้าไปในแต่ละ Menu ว่ามันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แล้วมันทำอะไรได้บ้างดีกว่าครับ

อ๊ะ..ลืม [กรอบสีส้ม] ครับ ในกรอบสีส้มคือ วันที่ครับ วันที่ที่เอาไว้กำหนดว่า จะให้เจ้า Google Analytics วิเคราะห์ตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน นั่นแหละครับ (โดยปกติแล้ว Google Analytics จะใช้เวลาวิเคราะห์ประมาณ 2-3 วันนะครับ ไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมผลการวิเคราะห์ของเมื่อวานมันถึงไม่มี ฮ่า ๆ)
Picture

เข้ามาในส่วนย่อยๆของเจ้า Google Analytics กันก่อนครับ อย่างที่บอกกันว่าเจ้า Google Analytics เนี่ยใช้วิเคราะห์ใช่มั๊ยล่ะครับ และแน่นอน มันต้องมีการเปรียบเทียบข้อมูลสิ ถึงจะวิเคราะห์ได้
ภายใน [กรอบสีเขียว] คือ จำนวนสถิติที่จะนำไปวิเคราะห์ ซึ่งสามารถสร้างเพิ่มได้จากการกดปุ่มใน [กรอบสีม่วง] และข้อมูลสถิติต่างๆที่จะนำไปวิเคราะห์ก็อยู่ภายใน [กรอบสีน้ำตาล] แต่ถ้าหากว่าตัวหนังสือมันยาวมาก อ่านไม่รู้เรื่องเลย ให้ไปเปลี่ยนรูปแบบได้ที่ปุ่มภายใน [กรอบสีน้ำเงิน]
นี่เป็นการปรับแต่งภายใน Google Analytics นะครับ สามารถใช้ได้เกือบทุก Menu กันเลยทีเดียว
Picture

มาเริ่มกันในส่วนของเมนู แดชบอร์ด ครับ
แดชบอร์ดเป็นเหมือนหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากหลายๆเมนูมาไว้ในหน้านี้ครับ ซึ่งข้อมูลจะอยู่ในรูปของวิตเจ็ตแสดงข้อมูลหลายๆรูปแบบ เช่น กราฟ อะไรทำนองนี้ครับ แล้วแต่ข้อมูลที่นำออกมาแสดง
[กรอบสีเขียว] วันที่ที่จะทำการวิเคราะห์สถิติ ที่ได้อธิบายไปแล้วด้านบนครับ
[กรอบสีแดง] เป็นส่วนที่ผมได้อธิบายไปแล้วด้านบน คือส่วนของการนำสถิติหลายๆอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูลครับ ถ้าเลือกหลายๆอัน เส้นในกราฟก็จะเยอะขึ้นครับ (เส้นเยอะขึ้นตามจำนวนของสถิติที่นำมาวิเคราะห์)
[กรอบสีชมพู] ภายในจะเป็นวิตเจ็ตแสดงข้อมูลเชิงสถิติของเมนูต่างๆ เช่น การเข้าชมต่างๆ คนที่เข้าชมไม่ซ้ำกัน อะไรประมาณนี้ครับ
[กรอบสีน้ำเงิน] เป็นปุ่มไว้สำหรับเพิ่มวิตเจ็ตที่จะมาแสดงครับ สามารถเลือกได้ว่าจะนำข้อมูลในส่วนไหนออกมาแสดง
[กรอบสีดำ] แน่นอนครับ ถ้าเรา Copy รูปในเว็บไปมันคงจะไม่งาม เจ้า Google Analytics ก็เลยทำให้เราสามารถส่ง 
E-mail หรือ Save กราฟสถิติต่างๆพวกนี้เป็นไฟล์ .pdf (Email ก็ส่งเป็นไฟล์ .pdf เช่นกัน)
[กรอบสีฟ้า] กรณีที่เราไม่ชอบใจรูปลักษณ์แบบนี้ ก็สามารถปรับแต่งหน้าวิตเจ็ตได้สบายๆเลยครับผม
ในส่วนของเมนู ทางลัด และ กิจกรรมอัจฉริยะ จะเป็นการกำหนดส่วนบุคคลนะครับ ผมขอไม่พูดถึงในส่วนนี้
Picture

เรามาต่อกันในส่วนของเมนู ผู้ชม กันครับ
ปกติเวลาที่เราเข้ามาในหน้า Google Analytics ครั้งแรก มันจะปรากฏหน้านี้ก่อนเลยครับ (ผมเดาว่า คนเราต้องการดูว่ามีคนเข้าชมเว็บไซต์เท่าไหร่ เป็นอย่างแรกล่ะมั้งครับ) ในเมนูผู้ชมนี้ ก็แน่นอนครับว่าเป็นส่วนที่บอกการเข้าชมเว็บไซต์ของเรา แต่มันสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลายมาก ตามที่ผมได้เกริ่นในด้านบนนั่นเองครับ เรามาดูกันเลยครับว่ามันทำอะไรได้บ้าง
[กรอบสีเหลือง] เน้นเป็นพิเศษสำหรับเมนูนี้เลยครับ ภายในกรอบนี้จะมีเมนูย่อยๆออกมาอีกมากมาย ดังนี้ครับ

  • ข้อมูลประชากร จะบอกเกี่ยวกับเพศและอายุของผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • ความสนใจ ก็เกี่ยวกับความสนใจของผู้เข้าชมนั่นแหละครับ
  • ภูมิศาสตร์ จะบอกว่าคนที่เข้าชมเว็บไซต์เรามาจากประเทศไหนบ้าง อะไรทำนองนี้ครับ
  • พฤติกรรม จะเกี่ยวกับจำนวนคนที่เข้าชมซ้ำ หรือคนเข้าชมใหม่ อะไรประมาณนี้ครับ
  • เทคโนโลยี จะเกี่ยวกับ Browser ที่คนใช้เข้ามาดูเว็บไซต์เราครับ
  • มือถือ จะบอกถึงคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้าชมเว็บไซต์เรา
  • กำหนดเอง เป็นส่วนที่เราจะกำหนดบางอย่างเองครับ (ส่วนตัว)

[กรอบสีแดง] เป็นกราฟที่แสดงข้อมูล ในรูปจะมี 2 กรอบ จะเป็นกราฟเส้นกับกราฟวงกลมนะครับ มีหลายรูปแบบเลย
[กรอบสีเขียว] ใช้กำหนดว่าจะแสดงเป็นแบบ รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ครับ
[กรอบสีน้ำเงิน] ภายในกรอบนี้จะมีฟังก์ชัน 4 อย่างด้วยกัน

  • Email ไว้สำหรับส่ง Email พร้อมแนบไฟล์กราฟเป็น .pdf
  • ส่งออก ไว้สำหรับ บันทึกกราฟข้อมูลเป็นไฟล์ .pdf เช่นกัน
  • เพิ่มลงในหน้าแดชบอร์ด ก็จะนำกราฟของผู้ชมไปแสดงเป็นวิตเจ็ตบนหน้าแดชบอร์ดนั่นเองครับ
  • ทางลัด เพิ่มหน้าผู้ชม เข้าไปสู่เมนูทางลัด
Picture

มาต่อกันในส่วนของเมนู การกระทำ กันบ้างครับ ในส่วนนี้ผมขออธิบายเพียงสั้นๆนะครับ เพราะ เป็นส่วนในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าคนที่เข้ามาในเว็บไซต์เรานั้น เข้ามาจากแหล่งใดบ้าง และเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นจากทั้งหมด ซึ่งเจ้า Google Analytics ก็ได้แบ่งช่องทางการเข้าถึงเว็บไซต์เราออกเป็น 4 ทางด้วยกัน ได้แก่

  • Social Media
  • Direct Link
  • Origin Search หรือ Search Engine 
  • Other (อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าเค้านับจากอะไรบ้าง)

มันสามารถตั้งเป้าหมายได้ด้วยนะครับว่า เราอยากให้มีคนเข้ามาจากช่องทางไหนเท่าไหร่บ้างอะไรประมาณนี้ แล้ว Google Analytics มันจะบอกว่าเราใกล้สำเร็จรึยัง ฮ่า ๆ

Picture

ส่วนต่อมา จะเป็นส่วนของเมนู พฤติกรรม ครับ ซึ่งผมก็จะขออธิบายสั้นๆ เช่นกัน ในส่วนของเมนูพฤติกรรมนั้นจะเน้นไปในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงที่ว่าในแต่ละหน้า(page)ของเว็บไซต์เรานั้นมีจำนวนคนเข้าชมกี่คน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็น และการเข้าชมนั้นมีเวลาเฉลี่ยในการเข้าชมแต่หน้า(page) จำนวนกี่นาที อะไรประมาณนี้แหละครับ 
ในเมนูย่อยจะมีเมนูที่พิเศษและแตกต่างจากเพื่อนเลยคือ โฟลวพฤติกรรม อาจจะดูยากสักนิด เนื่องจากถ้าเว็บไซต์เรามีจำนวนหน้า(page)เยอะ มันจะขึ้นมาแบบยั้วเยี๊ยเลยทีเดียวครับ ฮ่าๆ และก็มีส่วนของ AdSense มาให้ด้วยนะครับ ยังไงก็ไปลองเล่นกันดูได้ครับผม
ในส่วนสุดท้ายจะเป็นเมนู Conversation ซึ่งเป็นเมนูที่จะใช้กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ของเรานะครับ ซึ่งผมขอไม่พูดถึงในส่วนนี้นะครับ เนื่องจากเป้าหมายของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไปครับ
*หมายเหตุ :: บทความนี้เขียนขึ้นมาจากสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ :D
Published
Categorized as Journal